Monday, September 21, 2015

ยินดีด้วยกับชาว Indie Publisher (นักเขียนอิสระ)!!

เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่เหมือนกันนะคะ ว่าตกลง eBook จะมาจะไป จะรุ่งหรือไม่รุ่ง บางกระแสก็ว่าไม่มีทางหร้อกที่ eBook จะไปได้เพราะใครๆ ก็ชอบจับ ชอบสัมผัสหนังสือ ชอบเขียนลงไปในหนังสือ eBook ไม่ตอบโจทย์ตรงนี้เล้ย  บางกระแสก็ว่าเดี๋ยวนี้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไป๋ คนอยู่คอนโดอยากจะเก็บหนังสือเยอะๆ ก็ไม่มีที่เก็บ แถมจะพกหนังสือหลายๆ เล่มไปไหนก็หนักลำบากสารพัด eBook ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีที่ซู้ดดด

แต่ไม่ว่าจะเป็นไงก็ตามนะคะ กระแส eBook เมืองนอกเค้ามาแรงซะเหลือเกิน วันนี้หลินเลยรวบรวมมาแชร์กันค่าา 

รายงานยอดขายของ Amazon Kindle eBook ล่าสุด เค้าเก็บตัวอย่างจากหนังสือ 200,000 เล่มแรกที่ขายดี (ซึ่งทำยอดขายรวมกันเท่ากับ 55% ของยอดขาย eBook ทั้งหมดบน Amazon) แล้วเอามาจัดทำสถิติ ไปดูกันดีกว่าค่ะ

อัตราส่วนอันดับหนังสือ eBook ขายดี แยกตามประเภทของผู้จำหน่าย

หลินดูแบบคนไม่เก่งเลขนะ กราฟวงกลมข้างล่างนี่ เทียบเดือนพฤษภาคมกับเดือนมกราคมปีนี้ทั้งคู่ จำนวนหนังสือที่ขึ้นอันดับขายดี ที่เขียนโดยนักเขียนอิสระ (คือนักเขียนอย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สังกัดสำนักพิมพ์ใดเป็นล่ำเป็นสัน) เพิ่มขึ้นจาก 18% เป็น 26% 

โดยที่หนังสือสังกัดสำนักพิมพ์ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต่างก็มีอัตราส่วนหนังสือที่ขึ้นอันดับขายดีลดลงค่ะ 




อัตราส่วนยอดขายต่อวันของหนังสือขายดี

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันกับข้างบนค่ะ ยอดขายหนังสือของนักเขียนอิสระก็เพิ่มขึ้นจาก 33% เป็น 38% ค่ะ คนที่โดนแย่งส่วนแบ่งไปเยอะสุดคือ สำนักพิมพ์ใหญ่ 5 อันดับแรก ที่ยอดขายตกลงไปถึง 17% เลยล่ะ



ดูเทรนด์ย้อนหลัง 15 เดือน ยอดขาย eBook

เฮ้ยย นี่มันขาขึ้นชัดๆ!สำหรับชาวอินดี้ ทั้งจำนวนเล่ม และรายได้เลยนะเนี่ย!





หลินเอามาให้ดู ศึกษาความเป็นไปของตลาด eBook กันไว้ค่ะ  ถึงแม้ว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆจะทำ eBook แต่ไม่เอาไปขายบน Amazon ก็ตาม อยากจะแค่ขายในไทย ก็ควรจะดูไว้อยู่ดีนะ  เพราะเทรนด์มันตามกันไป ไม่เว้นแม้ในบ้านเรา ดูแล้วคันไม้คันมือ อยากจะทำ eBook กันมั่งงงรึยังล่ะคะ? 

หลิน^^

ป.ล. หลินมีคอร์สสอนวิธีเอาหนังสือไปขายที่ Amazon วันที่ 26 กย.นี้ค่าา ถ้าว่างมาเจอกันให้ได้นะคะ^^

Note:all graphs in this blogpost were originally published by AuthorEarnings.com



5 เทคนิคโปรโมทตัวเองสำหรับนักเขียนมือใหม่!!

ทุกครั้งที่หลินไปแชร์ประสบการณ์ทำไงให้หนังสือขายดี? มักจะมีคำถามที่เกิดขึ้นในคลาสบ่อยๆ คำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามที่หลายๆ คนคาใจ หนึ่งในนั้นก็คือเวลาทำหนังสือขายแค่ทำหนังสือดีๆ ออกมาวางขาย (ทั้ง Offline หรือ Online) ก็เสร็จแล้วใช่ป่าว? แค่วางไว้เฉยๆ หนังสือก็ขายเองเลยได้ใช้ไหม??

สำหรับคำถามยอดฮิตแบบนี้ หลินเองแต่ก่อนจะตอบว่าใช่ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว  O_o'

ทำไมถึงเป็นงั้นล่ะ?

ตามความคิดของหลิน เดี๋ยวนี้คนเราวันๆ ได้ข้อมูลถล่มทลายมากมาย Newsfeed ใน Facebook มีไม่รู้เท่าไหร่ บางคนมี friends เยอะๆ มาก อ่านแทบไม่ทันทีเดียว แถมที่สำคัญคนเรายังมีความอดทนน้อยลงๆ ที่จะรออ่านอะไรที่คิดว่าไม่น่าสนใจไม่ได้อีกแล้ว

ผลวิจัยบอกว่า คนเราสามารถอดทนอ่านโพสโซเชี่ยลได้แค่ 8 วินาที ??!!!!

แปลว่าไรนะ?? ก็แปลว่าหลังจากนั้น ถ้าไม่โดน ก็เขี่ยหน้าจอให้ผ่านค่าาา TT เศร้าแพรบเขียนแทบตายแน่ะ!!

ถ้าอย่างงั้น วันนี้เรามารู้จักวิธีโปรโมทตัวเองแบบฉบับนักเขียนกันดีกว่าค่าา ประยุกต์ใช้ได้ทั้งตลาดไทยและตลาดนอกนะคะ ติดตามกันเรยยย^^^

ข้อ 1 เขียน Blog
พอพูดถึงเขียน Blog หลายคนอาจร้องยี้ ใครจะอ่าน? เดวนี้ Blog เยอะแยะไปหมดแล้ว!!

ตอบ ในความคิดของหลิน หลินคิดว่า Blog เหมาะมากสำหรับนักเขียนมือใหม่ค่ะ เพราะได้ฝึกฝนการเขียน ลองตลาดของตัวเอง เพราะในช่วงแรกๆ เรายังไม่รู้หรอกว่าตลาดเป็นไง? อยากอ่านแบบไหน? เราเขียนได้ไหม? ต้องปรับเบา หนัก อ่อน ตรงไหนอีก??

ว่ากันง่ายๆ ถ้าเขียนให้อ่านฟรี ยังไม่มีคนอยากอ่าน วันนึงเราจะออกหนังสือจะมีคนซื้อเหรอ?

แต่ถ้าเราจับทางถูก เราจะมีแฟนคลับของตัวเอง แฟนคลับกลุ่มนี้ล่ะค่าา เป็นผู้คอยสนับสนุนเรา คอยแชร์ post แชร์ผลงาน แชร์งานเขียนของเรา คนก็จะรู้จักเรามากขึ้น ซึ่งมีผลอย่างมีนัยนะต่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเราในอนาคตค่ะ

ถ้ามี Blog ของตัวเองแล้ว ก็ต้องพยายามโพสให้สม่ำเสมอ Blog ที่หมั่นโพสจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นๆ Blog มีแห้งเหี่ยว ว่างทีโพสที จะเสียความนิยมกลายเป็นดาบสองคมซะงั้น





ข้อ 2 วางแผนโครงสร้างของ Blog เรา
ทำไมต้องวางแผน? นึกอยากเขียนอะไรก็เขียนเลยไม่ได้เหรอ??

ตอบ จิงๆ แล้วได้ค่า แต่การวางแผนโครงสร้างว่า Blog เราจะพูดเรื่องอะไรมั่ง จะทำให้จับกลุ่มเป้าหมายหรือแฟนคลับเราได้ชัดๆ ไม่สะเปะสะปะ ไม่จับฉ่ายในหม้อ ชัดเจนในจุดยืนว่างั้น

ในทางกลับกันผู้อ่าน Blog เราก็ชัดเจนที่จะชอบเราด้วยนะ คาดว่าจะมาพัฒนางานเขียน ตาม Blog ของหลิน วันนึงหลินจู่ๆ ลุกขึ้นขายครีมหน้าขาว ผู้อ่านคง unfollow โดยไม่ต้องคิด ถูกไหม?




ข้อ 3 สร้าง connection กับคนอื่น
ทำไมต้องสร้าง? แค่เขียนหนังสือ ต้องรู้จักคนมากมายด้วยเหรอ? เป็นคนเก็บตัว ไม่อยากเจอใครอ่ะ


ภาพจาก kassaone.ru

ตอบ การสร้าง connection ที่ดีกับคนอื่นๆ ในธรุกิจเดียวกัน หลินว่าเป็นเรื่องดีมากกว่าไม่ดีอยู่แล้วนะคะ ถ้าในวงการนักเขียน ก็คงต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนนักเขียนคนอื่น สำนักพิมพ์ กราฟฟิค คนจัดหน้า บก. นักเขียน ghostwriter ฯลฯ เอาไว้

คงจะไม่มีใครเถียงว่า connection ที่ดีทำให้งานง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น ใช่ไหม?

หลินแนะนำว่าโซเชี่ยลทุกประเภทเป็นคำตอบที่ดี แล้วแต่จะเลือกใช้เพราะมันง่าาายและฟรีค่าา (เค้าชอบของฟรีๆ อิ อิ)




ข้อ 4 เป็นแขกรับเชิญใน Blog อื่น หรือมีบทสัมภาษณ์คนอื่นใน Blog เรามั่ง
ทำแล้วได้อะไรเหรอวิธีเนี้ย? กลัวจะเหนื่อยฟรีอ่ะดิ?


ตอบ วิธีนี้เหมือนช่วยให้เราได้โฆษณาตัวเองบนฐานของแฟนคลับของ Blog อื่น ในทางกลับกันเวลาเราเชิญใครมาเป็นแขกรับเชิญใน Blog เรา ก็เหมือนสร้างสีสันให้กับ Blog เราเองด้วย ไม่น่าเบื่อ

หลินเองก็ไปสัมภาษณ์ใน CEO Blogger ในฐานะแขกรับเชิญ ด้วยเหตุผลนี้เหมือนกันค่าา คลิกโลด
http://www.theceoblogger.com/1507006/




ข้อ 5 เวลาโปรโมททั้งที อย่าโปรโมทแต่หนังสือ ให้โปรโมทตัวเองด้วย
ทำไมต้องทำอย่างงั้นล่ะ?

ตอบ เพราะอย่างงี้ค่ะ หนังสือของเราหรือผลิตภัณฑ์จากเรา ต่อๆ ไปก็คงไม่ได้มีแค่เล่มเดียวหรืออย่างเดียว ก็คงมีหลายๆ อย่างเพิ่มขึ้นๆ การโปรโมทแค่หนังสือเล่มเดียวของเรา หลินว่าไม่ยั่งยืนเท่ากับโปรโมทตัวเองในฐานะนักเขียน เพราะเมื่อเรามีแฟนคลับที่ติดตามแล้ว ต่อไปเราจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อะไร  ก็จะมีคนกลุ่มนี้คอยสนับสนุน เค้าสนับสนุนเพราะเป็นผลิตภัณฑ์จากเรา ไม่ใช่เพราะแค่เคยเห็นหน้าปกหนังสือเล่มนี้เฉยๆ เพราะถ้าโปรโมทแต่หนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง ต่อไปเมื่อหน้าปกเปลี่ยน เค้าก็จำไม่ได้ล่ะว่าใครเขียน??

ลองเอาไปปรับใช้ดูกันนะคะ^^

หลิน

Thursday, September 17, 2015

9 เทคนิคเขียนให้ได้ 5,000 คำใน 1 วัน!! :)

อย่างที่เรารู้ๆ กันว่า รักจะทำงานเขียน ต้องฝึกฝนการเขียนอย่างสม่ำเสมอนะคะ^^ ที่นี้ปัญหาอยู่ที่ บางทีนึกเรื่องที่จะเขียนไม่ออก ไม่รู้จะเขียนอะไรดี จะทำยังไงถึงจะแก้ปัญหานี้ได้ ?

วันนี้หลินมีเทคนิคของฝรั่งมาแชร์ เค้าอ้างว่าด้วยวิธีนี้ทำให้เค้าเขียนได้ถึง 5,000 คำใน 1 วันเลยล่ะค่ะ ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะคะ^^  ถึงแม้อาจจะทำได้ไม่ถึง 5,000 คำอย่างเขา แต่ต้องดีกว่าเดิม ชัวร์!




1. ให้เขียนตอนเช้า
เค้าบอกตอนเช้าคนเรามักมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด แล้วค่อยถูกๆ ทำให้ไขว้เขว ถูกรบกวนด้วยนู่นนั่นนี่ ทำให้ประสิทธิภาพลดลงเรื่อยๆ โดยเริ่มตั้งแต่เที่ยงถึง 4 โมงเย็น

ก็เพราะอย่างนี้นี่เอง ถ้าเราเอาเวลานี้มาฝึกฝนการเขียนในตอนเช้าได้ ก็จะเยี่ยมฝุดๆ เลยนะคะ^^ แต่หากบางคนบอกว่า แหม!ไม่สะดวกเลยอ่ะ ตอนเช้าเนี่ย เพราะต้องทำโน่นนี่เยอะแยะ วุ่นวาย ไหนยังต้องทำงานประจำอีกด้วยด้วย ไม่ว่างมาเขียนตอนเช้าสิ

ไม่เป็นไรค่ะ ในเมื่อไม่มีทางเลือกก็ต้องมาเขียนตอนเลิกงาน  จริงๆแล้วที่ว่า หากเลือกได้ให้เลือกตอนเช้านั้นก็คือ สมองเรายังปลอดโปร่งอยู่นั่นเอง ดังนั้นหลังจากที่เราทำภารกิจมาทั้งวัน ก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียน ให้ผ่อนคลายจิตใจก่อนค่ะ จะฟังเพลงเบาๆหรือวิธีไหนก็ได้ที่ถูกจริตเรา ทำให้เกิดสมาธิก่อนเริ่มเขียน ก็เป็นวิธีชดเชยกับการที่เราไม่สามารถเลือกช่วงเวลาเช้าได้ค่ะ

2. คอยพักเรื่อยๆ ระหว่างเขียน
การเขียนรวดเดียวจนจบโดยไม่พักเลย จะมีข้อเสียตรงที่ทำให้พลังงานของเราหมดแม็กอย่างรวดเร็วค่ะ เทคนิคก็คือควรพักอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่เขียน เช่น ทุก 25 นาที พัก 5 นาที ฝรั่งเค้าว่าวิธีนี้ช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

บางคนใช้วิธีตั้งเวลาจะใช้มือถือหรือใช้ app โหลดฟรีก็ได้ พอถึงเวลาดังเตือนก็หยุดสักแป๊ป

3. เขียนให้ได้ทุกๆ วันๆ
ข้อนี้เป็นไปตามกลไกว่า ฝึกเขียนทุกๆ วันๆ ก็ช่วยให้เขียนได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ลื่นไหลขึ้น แต่ใช้เวลาน้อยลงๆ ค่ะ


4. กำจัดสิ่งที่คอยรบกวนให้หมด
ข้อนี้หลินก็เป็นนะคะ แต่ก่อนเคยใช้เวลาอยู่กับ internet  แบบไม่รู้ตัว ท่องเว็บไปเรื่อยๆ อ่านไปเรื่อย ๆ เรื่องดารา เรื่องอะไรต่อมิอะไร เหมือนกับฆ่าเวลาไปงั้น ๆ

แต่ทำเป็นเล่นไป ในที่สุดก็ใช้เวลาบนหน้าจอ (แบบไร้สาระ ไม่ได้อะไรขึ้นมา เช่น เม้าท์มอยดารา) วันละหลายๆ ชั่่วโมงแบบไม่รู้ตัวเลย

วิธีที่หลินใช้ตอนนี้ก็คือ เขียน list ที่สำคัญและต้องทำแน่ๆ ในแต่ละวันออกมา และพยายามทำใน list ให้เสร็จก่อน ขีดฆ่าหัวข้อที่ทำเสร็จแล้ว บอกตัวเองว่าถ้าไม่เสร็จก็อดท่อง internet ด้วยวิธีนี้หลินค้นพบว่ามัน work เลยค่ะ งานก็ไม่ค้างและเป็นไปตามแผนด้วย ลองดูนะคะ^^


5. อย่าเสียเวลานั่งคอย คิดถึงไอเดียบรรเจิดเพริดแพร้ว ฝันกลางวันหรือใจลอยไปไหนถึงไหน??!?
หลายคนเวลาจะลงมือเขียนมักอ้างว่าไม่มี "ฟิลลิ่ง" (feeling)

คำถามคือฟิลลิ่งตอนนี้ไม่มีแล้วตอนไหนถึงจะมี ?

แต่หากว่าฟิลลิ่งไม่บังเกิดจริงๆ ลองเปลี่ยนบรรยากาศที่ทำงานดูบ้างก็ดี อาจจะเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนดอกไม้ในแจกัน เปิดเพลงเบาๆ ที่สำคัญคืออย่าเอามันมาเป็นข้ออ้างในการไม่เขียนค่ะ

ความจริงก็คือจะเขียนเก่งขึ้นได้ก็ต้องการ การฝึกฝน เหมือนจะผอมก็ต้องออกกำลังกาย มัวแต่รอฟิลลิ่ง ฝันกลางวัน ใจลอยยยไปนู่น คงไม่ได้เก่งขึ้นมาด้วยวิธีนี้เท่าไหร่

ลืมตาตื่นแล้วลงมือเขียนจะดีกว่าาาา.........เนอะ



6. เริ่มการเขียนเป็นสิ่งแรกของวัน
เค้าว่า (ซึ่งหลินว่าจริง) ถ้าเราเริ่มการทำงานด้วยการเช็ค email, website, Twitter, หรือ Facebook. เราจะไม่ได้หันมาเขียนซะที

มีงานวิจัยมาสนับสนุนด้วยว่า social media ทั้งหลายทำให้เกิดภาวะยากที่หยุด คล้ายๆ กับการติดยาหรือติดสารอะไรบางอย่าง คือเริ่มเล่นแล้วต้องเล่นไปเรื่อยๆ

ดังนั้น ถ้าเราเริ่มงานในแต่ละวันด้วย social media  คงยากที่งานเขียนของเราจะสำเร็จได้ค่ะ TT

7. อย่าเขียนไป edit ไป
เพราะว่าจะไม่เสร็จซักที ทำไปแก้ไป แก้ไปแก้มาไม่ถูกใจ แก้บรรทัดนี้กลับไปแก้ย่อหน้าที่แล้วอีก ถ้าเป็นอย่างนี้ จะคืบหน้าได้ยังไง?

วิธีแนะนำคือจะเขียนอะไรก็เขียนให้เสร็จก่อน จะเป็นบทความ เรื่องสั้น ไดอารี่หรืออื่นๆ แล้วค่อยกลับมาแก้งานทีหลังค่ะ^^

8. ใช้จอmonitor 2 จอ
เคยเป็นไหมคะ ที่ต้องค้นคว้าข้อมูลไปแล้วก็เขียนไปด้วย หน้าต่างบนจอคอมเยอะแยะไปหมด สลับหน้าต่างไปมา อ่านหน้าต่างโน้นเขียนหน้าต่างนี้ ยุบโน่นเปิดนี่ กว่าจะเขียนเสร็จก็นาน แต่ไม่สำคัญเท่าขาดความต่อเนื่องของอารมณ์ในการเขียนนี่สิ

เค้ามีวิธีค่ะ ให้เซ็ตคอมพิวเตอร์ให้ใช้ได้สองหน้าจอพร้อมกัน แล้วแยกเลยค่ะ จอนี้ไว้สำหรับงานเขียน อีกจอนึงก็ไว้สำหรับหาข้อมูล จะได้ไม่ปนกัน ดูจอโน้นพิมพ์จอนี้ งานก็เร็ว อารมณ์ก็ต่อเนื่องขึ้นด้วยล่ะ


9. กฏระเบียบทั้งหลายคือเราเป็นคนสร้าง สร้างได้ก็พังได้!
ไม่ว่าใครจะว่ายังไง แต่เค้าก็ไม่ใช่เราอยู่ดีค่ะ ลองเอาแนวทางของคนอื่นๆ มาปรับใช้ อะไรเหมาะกะตัวเองก็จัด อะไรไม่เหมาะก็ทิ้งไป

อย่าไปเครียด กดดันตัวเองมาก ทำงานให้สุข ให้สบาย จะได้ผลงานที่ดีกว่าคะ

ลองดูกันนะคะ^^
หลิน

เรียบเรียงจาก HOW TO WRITE 5,000 WORDS A DAY โดย THERYANLANZ

Saturday, September 12, 2015

เข้าคอร์สนักเขียนไม่ได้ช่วยให้คุณเขียนดีขึ้นหรอกนะ ถ้า....???

เดี๋ยวนี้มีคอร์สนักเขียนเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งก็เป็นเรื่องดีค่ะ เพราะแสดงให้เห็นว่าตลาดหนังสือไม่ว่าจะเป็นหนังสือเล่มหรือ eBook ยังคงไปได้ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผันผวนจะซบเซายังไง บทความที่เป็น content ต่างๆ ก็เป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อเอาไปลง social media ดึงดูดให้คนเข้าไปดู และซื้อสินค้าในที่สุด จะเห็นได้จากตลาดซื้อขายบทความหรืออาชีพ ghostwriter ที่คึกคักมากๆ นะคะ

จริงๆ แล้วหลินอยากจะบอกว่าการเข้าคอร์สไม่ได้ช่วยอะไรเลยนะ ถึงแม้จะได้เรียนกับอาจารย์ขั้นเทพ เรียนมาหลายคอร์ส เป็นศิษย์หลายสำนัก แต่หากไม่เคยลงมือเขียนเลยสักครั้ง หรือลงมือแล้วแต่ขาดความสม่ำเสมอ เราก็ไม่สามารถมีก้าวแรกในการเป็นนักเขียนที่ดีได้ค่ะ

ตัวหลินเอง รู้ตัวว่ายังต้องพัฒนาตัวเองต่อไปอีก ก็มีตารางการเขียนในหนึ่งอาทิตย์เลยค่ะ ว่าจะเขียนอะไรบ้างและเขียนยังไง และพยายามยึดกับตารางนี้ให้ได้ ฝนจะตกแดดจะออก ก็จะต้องเขียนให้ได้ตามเป้า ถึงแม้บางทีจะเหนื่อยโฮกๆ ก็ตาม

เพราะว่าอ่านมาหลายตำรา เรียนมาก็เย๊อะะ  กูรูหลายคนบอกตรงกันว่าการเขียนบ่อยๆ และการฝึกฝนซ้ำๆ  จะเป็นเป็นปัจจัยหลักให้เราเป็นนักเขียนที่ดีได้ค่าา :)

นอกจากนี้ การเขียนไม่ใช่ว่าแค่เรียนรู้เทคนิคแล้วจะทำได้ทันทีนะ ไม่งั้นศิษย์ครูเดียวกันคงจะเก่งเหมือนกันหมด จริงๆ แล้วมันคือการสร้างทักษะล้วนๆ  เป็นทักษะการเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับคนอ่าน สื่ออารมณ์และความคิด ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้ถึงและเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าหรือคนอ่านของเรา




เทียบง่ายๆก็เหมือนกับการว่ายน้ำ เราแค่ฟังวิธีการหรือรู้ทฤษฎีจะว่ายน้ำได้ไหม? คำตอบก็คือไม่ได้ค่ะ เราต้องลงสระฝึกว่ายน้ำ กว่าจะเป็นก็สำลักน้ำไปหลายอึกเลยนะ

การเขียนก็เช่นเดียวกัน แค่นั่งฟังในคอร์สไม่ได้ทำให้เราเก่งขึ้น ต้องลงมือเขียนด้วยตัวเอง กว่าจะเก่งก็ต้องใช้เวลาฝึกฝนค่ะ จะยาวจะสั้นแค่ไหนไม่มีใครตอบได้ เพราะพื้นฐาน ครอบครัว ความชำนาญ ฯลฯ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  แต่ทฤษฎีหรือเทคนิคในคอร์สที่เรียนมาจะช่วยก็ตรงนี้แหละค่ะ คือย่นระยะเวลาลองผิดลองถูกให้น้อยลง ให้เราเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงๆ ของครู จากนักเขียนเก่งๆ สุดท้ายนำมาปรับใช้ให้เป็นสไตล์เราค่ะ สำคัญคือเราต้องหา signature ของเราให้เจอค่ะ^^

ครูที่เก่งๆ ช่วยเราได้ในเรื่องสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟนักเขียน แนะนำทางลัดและสารพัดเทคนิค แต่หากเราเองไม่ลงมือทำก็ไม่มีวันสำเร็จ เหมือนเราหิวข้าว ให้คนอื่นกินแทนก็ไม่อิ่ม เลยต้องกินเองยังไงหยั่งงั้นเลยค่ะ

หลินมีเทคนิคง่ายๆ ของฝรั่งมาฝากค่ะ เขาว่า:

You sit down at the keyboard and you put one word after another until it’s done. It’s that easy, and that hard. ~Neil Gaiman

เรื่องนี้พูดง่ายแต่ทำยาก แต่หากไม่ทำก็ไม่สำเร็จ ให้คิดซะว่าการฝึกฝนงานเขียน เหมือนออกกำลังกาย  จะออกมากออกน้อย นานหรือไม่นานไม่ว่ากัน แต่ขอให้ทำสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย  เรื่องที่คิดว่ายาก ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป^^

(ดูโพส นิสัยการเขียน เราสร้างได้!คลิ๊ก http://ebookmakerich.blogspot.com/2015/08/blog-post_14.html)

Never put off writing until you are better at it. ~Gary Henderson
จงอย่าหยุดเขียนจนกว่าคุณจะเก่งนะคะ สู้ๆ ค่าาา

หลิน^^


Monday, September 7, 2015

5 เทคนิคอ่านหนังสือได้เร็วจี๋!! แบบปุ่มสปีดปรับไม่ทัน!

หลินว่าเราคงเคยได้ยินมาบ้างว่า จะเป็นนักเขียนที่ดีได้ต้องเป็นนักอ่านที่ดีด้วย  เพราะถ้าเราอ่านหนังสือได้มาก คลังคำศัพท์และความรู้รอบตัวต่างๆ ของเราจะเยอะ สะสมไปๆ พอถึงเวลาเราต้องเขียนจริงๆ สมองเราก็จะดึงความรู้พวกนี้มาใช้ได้ทัน

และการที่เราจะเป็นนักอ่านที่ดีได้ เราควรอ่านหนังสือได้มากพอ ปัญหาก็คือ ทุกวันเนี้ยคนเรามีเวลาน้อยลงเรื่อยๆ สารพัดเรื่องราวที่ต้องทำในแต่ละวัน แถมเจอรถติดมหาโหดเข้าไปอีก วันๆ แทบไม่เหลือเวลาแม้แต่จะนอน

หลินไปอ่านเจอเทคนิคการอ่านหนังสือเร็วของฝรั่งมาค่าาา เลยเอามาแบ่งปันกันดีกว่า เอาไว้ใช้ปรับปุ่มสปีดการอ่านของเรานะคะ^^

ติดตามกันเลยค่าา




1. เทคนิคอ่านให้เร็วขึ้นโดยใช้นิ้วไล่ตามบรรทัด
เทคนิคนี้แนะว่าเราจะอ่านเร็วขึ้นได้ ถ้าใช้นิ้วไล่ไปตามบรรทัดที่อ่าน เพื่อจะได้ไม่ต้องฟังเสียงอ่านตัวเองในใจ (ซึ่งคนปกติมักเป็น ทำให้อ่านช้า) จะได้อ่านต่อไปข้างหน้าได้เร็วขึ้น  วิธีนี้ช่วยให้อ่านหนังสือจาก speed 200 คำ/นาที เป็น 1,000 คำ/นาทีเลยทีเดียวค่ะ

2. ไม่ต้องอ่านจนจบเล่ม?!
เอ๊ะ! ยังไงน้าาา  เพราะปกติเราซื้อหนังสือเล่มนึงมา เราก็พยายามอ่านให้จบใช่ไหมคะ ถึงแม้บางทีจะรู้สึกว่าอ่านแล้วโคตรเบื่อเลย แต่ที่สุดก็พยายามอ่านจนจบอยู่ดี แต่อาจใช้เวลาเป็นเดือน เป็นปี หรือไม่ก็เก็บไว้กะว่าจะกลับมาอ่านแล้วก็ลืมไปเลย

เทคนิคนี้บอกว่าทำแบบที่เราทำกันเนี่ย เสียเวลาฝุดๆ เลยนะ!

เพราะว่าหนังสือทั่วไปเล่มนึงเนี่ย จะมีประเด็นสำคัญแค่ 1-2 ประเด็นเท่านั้น ถ้าหนังสือดีๆ อาจจะมี 2-3 ประเด็น ถ้าหนังสือเทพๆ อาจมีไอเดียเจ๋งๆ ได้ถึง 3-5 ประเด็น ในความเป็นจริงก็คือหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือทั่วไปที่อยู่ในค่าเฉลี่ยเท่านั้นค่ะ 

ส่วนนักเขียนทั่วไปอาจจะเขียนไอเดียเจ๋งๆ ออกมาประมาณ 20 หน้า แต่หนังสือแค่ 20 หน้าจะขายได้ยังไงกันล่ะ? นักเขียนจึงต้องหาอะไรมาเติมให้ได้ 200 หน้าถึงจะทำเป็นหนังสือขายได้ วิธีนี้ทั้งนักเขียนทั่วไปและนักเขียนเทพๆ ก็ทำเหมือนกันหมด (คือหาอะไรมาเพิ่มมาเติม)

แล้วหยั่งงี้เราจะเสียเวลาอ่านหนังสือจนจบเล่มทำไม?? 

อืมมมม...น่าคิดเหมือนกันเนาะ หลินอ่านจนจบทุกเล่มเลย แต่บางเล่มใช้เวลาเป็นปีๆๆ ทำผิดทางมาตะล๊อดดดสิเรา

เทคนิคนี้แนะว่าควรจะอ่านผ่านตาแบบ skim ก่อนเพื่อหาประเด็นของหนังสือ ใช้สารบัญให้เป็นประโยชน์ ทำสัญญลักษณ์ไว้ตรงที่ไม่เข้าใจ  (ครั้งแรกให้ใช้เวลาแค่ 3-5 นาที)

ครั้งที่ 2 กลับมาอ่านอีกแค่ 30 นาที ตรงที่เป็นประเด็นสำคัญและเรื่องที่เรายังไม่เข้าใจดี (อ่านแบบ scan)

สุดท้าย ถ้าหนังสือเล่มนี้คุ้มค่าที่จะอ่านอีกรอบ ให้ใช้เวลา 1-2 ชม.ในการอ่านรอบที่ 3

ถ้าทำแบบนี้ได้ เราจะสามารถอ่านหนังสือหนึ่งเล่มด้วยการใช้เวลาน้อยกว่า 3 ชม.!!

3. กำหนดเวลาที่อ่านให้ชัดเจน
แนะนำว่าให้ตั้งเป้า 4 ชม.กับหนังสือหนา 200-300 หน้า แล้วตั้งใจอ่าน แบบอ่านนิยายค่ะ คือไม่ให้มีอะไรมากวน

อาจจะมีคนคิดว่า โฮ้ยยย!! ใครจะทำได้ 4 ชม.หนังสือเล่มนึง เทคนิคนี้เค้าบอกว่าถ้าเราบอกว่า 4 ชม. จะอ่านให้จบ สมองเราจะพยายามทำให้ได้ แต่ถ้าเราบอกไว้เดือนนึงอ่านให้จบ รับรองว่าไม่จบ เพราะเราไม่ตั้งใจจะทำ จะไปทำนู่นทำนี่ทำนั่น ที่สุดแล้วไม่จบชัวร์

ถ้าอ่านแล้วเจอเรื่องไม่เข้าใจ ให้เขียน note ไว้แล้วกลับมาอ่านทีหลัง อย่าพยายามหาคำตอบให้ได้ในครั้งแรกที่อ่านเพราะจะเสียเวลา และสุดท้ายเรื่องที่เราไม่เข้าใจนั้นอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรเลยนะ (เหมือนทำข้อสอบเลยอ่ะค่ะ ว่าม่ะ?)

4. เริ่มจากหนังสือเล่มง่ายๆ ก่อน
แทนที่จะเริ่มจากหนังสือโคตรยากหนา 1,000  หน้า ให้เริ่มจากหนังสือง่ายๆ หนา 100-150 หน้าก่อน ให้มีความมั่นใจแล้วค่อยไปต่อจะดีกว่า

พออ่านได้แล้ว ค่อยพัฒนาความสามารถในการอ่านตัวเอง ให้อ่านหนังสือได้หนาขึ้นๆ และยากขึ้นเรื่อยๆ

5. อ่านแต่หนังสือที่คุ้มค่าจะอ่าน
สั้นๆ เลยเพราะเวลาเรามีจำกัด ไหนๆ จะเลือกอ่านทั้งที ให้อ่านอะไรที่มีประโยชน์ต่อเราค่ะ
อะไรที่ไม่มีประโยชน์อย่าเสียเวลาอ่านเลย เอาเวลาไปนอนดีก่าา (หลินพูดเอง 55)

หวังว่าจะได้เทคนิคแจ่มมะว้าวว กันถ้วนหน้านะคะ ใครมีเทคนิคเจ๋งๆ ยังไงก็แชร์กันได้ค่าา

หลิน^^










Sunday, September 6, 2015

เรื่องต้องรู้ก่อนเขียน! เขียนหนังสือต้องตั้งโจทย์ก่อนว่าจะให้ใครอ่าน?

หลินห่างหายจากการอัพเพจเป็น 2 วัน เพราะป่วยงอมพระรามเลยค่ะ ตื่นมาเวียนหัวไปหมดแถมนั่งแท็กซี่ไปหาหมอ ต้องแวะไปฝากรอยอาลัยเป็นระยะไว้ที่เสาไฟฟ้าอีกต่างหาก T_T หมอบอกน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดมาเพิ่งเป็นไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่ว่านอนรพ. ไป 8 ชม. เสียค่าหมอไปหมื่นกว่าบาท ><'

สรุปคือทุกคนอย่าลืมรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ ขออภัยด้วยค่าที่แวปหายจ้อยไป T_T

กลับมาเรื่องนักเขียนของเราดีกว่า...

หลินไปเจอเรื่องราวน่าสนใจจากเวบนึงค่ะ อันที่จริงเป็นเวบเกี่ยวกับเรื่องราวจีนๆ ซึ่งหลินก็ติดตามอ่านบ่อยๆ เพื่ออัพเดทข่าวหรือเรื่องราวฮิตๆในอินเตอร์เนต เผื่อว่าเจอเรื่องน่าสนใจจะได้ไปเล่าใน blog ภาษาจีนที่หลินทำอยู่

แต่อ่านไปอ่านมาเห็นว่าเรื่องนี้น่าเก็บมาฝากแฟนเพจเรียนเขียน เพื่อขายบน Amazon ด้วย เพราะเป็นเรื่องถกเถียงเกี่ยวกับหนังสือเล่มนึง ที่มีคนตั้งข้อสงเกตว่าแพงมากกกกกๆ เมื่อเทียบกับเนื้อหาในเล่มที่ซึ่งโคตะระง่าย ช่างไม่คุ้มค่าเงินซะเลย แล้วใครนะที่ยอมเสียตังค์ซื้อ?
"Little Blue and Little Yellow"

โฉมหน้าของหนังสือเล่มนี้ค่า 小蓝和小黄 แปลเป็นไทยว่า "เจ้าสีฟ้าน้อยและเจ้าสีเหลืองน้อย" (มุ้งมิ้งมากคร่าาา)

หนังสือเล่มนี้ขายอยู่ที่ 29.80 หยวน ก็ประมาณ 150 บาท ซึ่งถือว่าราคาแพงเหมือนกันเมื่อเทียบกับหนังสือเล่มอื่นๆ ทั้งที่จริงแล้วหนังสือในเมืองเมืองจีนราคาไม่แพงเลย เพราะเค้าพิมพ์ทีนึงเยอะมากๆ

ประเด็นก็คือ นอกจากมันแพงแล้วยังขายดีซะด้วยสิคะ!! (ทั้งๆที่เนื้อหาก็ดูง่ายมากๆ ใครๆก็เขียนได้ ไม่เห็นต้องมีการทักษะขั้นเทพอะไรเลย!!)

เรื่องนี้ชาวเนทจีนก็ถกกันน่าดู มีบางประเด็นที่หลินเองก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งก็คือ

  • หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่สำหรับทุกคนอ่านค่ะ กลุ่มเป้าหมายคือเด็กอนุบาล คนเขียนเขาเขียนให้เด็กเล็กๆ อ่าน เพื่อเข้าใจหลักการผสมสี  เพราะงั้นจงอย่าเอาความคิดของผู้ใหญ่ไปตัดสินหนังสือของเด็กน้าา
  • บางคนคอนเฟิร์มว่าเด็กชอบหนังสือเล่มนี้มาก เพราะโลกของเด็กไม่เหมือนกับโลกของผู้ใหญ่นะ ดังนั้นที่ใครบอกว่าเนื้อหาง่ายๆนั้น หากเป็นโลกของเด็กเนี่ยความยากถือว่าอยู่ในระดับที่พอดีๆ แล้ว

เล่ากันมาพอควร เดี๋ยวจะนึกภาพไม่ออกมาดูเนื้อหาส่วนนึงกันค่ะ

"This is Little Blue."
คำบรรยาย--นี่คือเจ้าสีฟ้าน้อย

"Little Blue has many friends."
คำบรรยาย--เจ้าสีฟ้าน้อยมีเพื่อนมากมาย

"But his best friend is Little Yellow."
คำบรรยาย--แต่เพื่อนที่สนิทที่สุดคือสีเหลืองน้อย

"They happily hugged each other."
คำบรรยาย--พวกเขาทั้งสองกอดกันอย่างมีความสุข

"Hugged and hugged."
คำบรรยาย--กอดกัน กอดกัน!!

"Then they became green."
คำบรรยาย--ในที่สุดพวกเขาก็กลายเป็นสีเขียว


จบล่ะสำหรับบทนี้ ส่วนบทอื่นๆ ก็ทำนองนี้เหมือนกัน

ง่ายใช่ป่าวคะ? อย่าเพิ่งทำสายตาเคลือบแคลงใจค่า หลินว่าเรื่องนึงที่เราควรเรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ก็คือ เขียนหนังสือต้องตั้งโจทย์ก่อนว่าเขียนให้ใครอ่าน?

อันนี้สำคัญมากๆ เพราะเนื้อหาที่เราจะสื่อสารออกไปต้องตรงความต้องการ ตรงความสนใจ เหมาะกับระดับความรู้และเหมาะกับความชอบของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนอ่านของเราค่ะ

เพราะต่อให้หนังสือความรู้แน่น ทฤษฎีเป๊ะแค่ไหน แต่หากกลุ่มคนที่เราจะเขียนหนังสือให้เขาอ่านดันไม่สนใจหรือมันยากเกินระดับความรู้ เขาก็ไม่อ่านหรืออ่านหน่อยก็เลิก ซึ่งผลลัพธ์ก็ไม่ต่างอะไรกับหนังสือที่เขียนแย่ๆ เล่มนึง (เพราะทั้งหมดคือขายไม่ดีหรือขายไม่ได้)

ดังนั้น จะเขียนหนังสือสักเล่ม ต้องคิดก่อนนะคะว่าเราเขียนให้ใครอ่าน? 

จากนั้น ต้องเขียนให้เหมาะกับความต้องการ ความสนใจ ความรู้และความชอบของคนอ่าน เราก็จะก้าวไปอีกขั้นในการเป็นหนังสือที่ขายดีค่ะ และจะดีกว่านั้นอีกถ้าเนื้อหาหนังสือของเราดีด้วยยย!!

สู้ๆนะคะทุกค้นนนน!!

ป.ล. ใครสนใจภาษาจีน เชิญได้ที่นี่ค่ะ 

หลิน^^










Wednesday, September 2, 2015

ขึ้นอันดับ 1 !!

สร้างเงินด้วยงานเขียน amazon kindle ขึ้นอันดับ 1 ของ Ookbee ในหมวดธุรกิจและการลงทุนค่ะ^^
ขอบคุณมากๆ ค่ะสำหรับทุกการสนับสนุนและเห็นว่าหนังสือที่หลินเขียนมีประโยชน์นะคะ^^
หลิน




Tuesday, September 1, 2015

เส้นทางอาชีพ Ghostwriter!! โรยด้วยดอกอะไร??

จริงๆ อาชีพ Ghostwriter ในเมืองไทยเนี่ย หลินว่ามีมานานแล้วนะคะ แต่ช่วงนี้มีกระแสเรื่องงาน Ghostwriter ออกมาค่อนข้างมาก อาจจะส่วนหนึ่งมีคอร์สสอน Ghostwriter ออกมาเยอะ และ Ghostwriter หลายคนก็ออกมาเปิดเผยตัวตนกับสื่อโซเชี่ยลมากขึ้น ได้เห็นหน้าเห็นตา เจอหน้าค่าตากันเยอะขึ้นๆๆ

อย่างที่รู้กันว่า Ghostwriter ก็คืออาชีพนักเขียนแบบมือปืนรับจ้าง เขียนแบบไม่ออกสื่อว่าเป็นฝีมือตัวเอง แต่ถึงแม้ไม่ออกสื่อ Ghostwriter ก็ต้องมีฝีมือในการเขียนเพื่อให้ถูกจ้างไปเขียนค่ะ

สำหรับอาชีพนี้ ฝรั่งเค้ามีมานานแล้ว หลายคนอาจจะอยากเริ่มเส้นทางนักเขียนด้วยการมีหนังสือของตัวเอง แต่ว่าทำไปๆ กลับคิด Ghostwriter เหมาะกะตัวเองมากกว่า



มาดูกันค่ะ ว่าจริงๆ แล้วอาชีพ Ghostwriter มีข้อดีตรงไหนนะ (นอกจากเงินค่าจ้าง)  หลายคนถึงยึดอาชีพ Ghostwriter เป็นหลักเลยและไม่เห็นจะอยากมีผลงานของตัวเองสักติ๊ดดเดียว

1. ข้อดีข้อแรกคือได้เงินก่อน อ่าว...ไหนบอกไม่พูดถึงเรื่องค่าจ้างไง ป่าวค่าา.....หมายถึงว่าอาชีพนักเขียนน่ะ ปกติแล้วต้องรอจนหนังสือพิมพ์เป็นเล่มหรือวางขาย หรืออย่างน้อยต้องจัดหน้าเสร็จ ถึงจะได้เงิน แต่ Ghostwriter ได้ตังค์เลยนะ เขียนเสร็จรับเงินโลด ไม่ต้องรับความเสี่ยงที่เป็นตัวเงินหากหนังสือขายไม่ออกด้วย (แต่หากงานเขียนไม่เข้าตาต้องใจตลาด เล่มต่อๆไปอาจฝืดหน่อยที่จะมีคนมาจ้างเขียน)

2. ไม่ต้องทำ marketing  ตอนนี้เราคงต้องยอมรับว่านักเขียนเองก็ต้องทำการตลาดเพื่อโปรโมทหนังสือเองด้วย เพราะผู้อ่านมีแนวโน้มที่จะซื้อหนังสือที่เค้ารู้จักคนเขียนหรือเคยเห็นมากกว่าหนังสือที่ไม่รู้จัก (ทั้งๆ ที่หนังสือที่ไม่เป็นที่รู้จักไม่ใช่ว่าไม่ดี บางทีดีกว่าหนังสือที่ดังๆ ซะอีก) และงานการตลาด งานโปรโมทต่างๆ เป็นอะไรที่เหนื่อยและหยุดไม่ได้ บางทีต้องใช้ทั้งเงินและเวลามากๆ ในการทำ แต่ Ghostwriter หาได้แคร์ไม่ เมื่อเป็นมือปืนรับจ้างก็ไม่จำต้องทำ marketing เมื่อไม่ต้องทำก็ไม่ต้องเสียเวลา สามารถมุ่งมั่นทำงานอย่างเดียว งานก็จะเสร็จได้เร็วขึ้นด้วย รับงานใหม่ได้เร็วขึ้นด้วยล่ะ (อันนี้ไม่นับ Ghostwriter รุ่นใหม่ๆที่ใช้สื่อออนไลน์ในการทำให้ตัวเองให้เป็นที่รู้จักนะคะ เพราะถือว่าเป็น marketing สร้างตัวตนอย่างนึง)

3. ไม่มีอารมณ์ร่วม  แล้วดีตรงไหนเนี่ย... ตรงเนี้ยไม่ได้หมายถึงไม่อินกับเรื่องราวของคนต้นเรื่องนะ แต่หมายถึงว่า พอเราไม่ใช่หนังสือของเรา อารมณ์ความรู้สึกเราก็เป็นกลางมากขึ้น ใครติก็น้อมรับเอามาปรับปรุง ใจเราก็เป็นกลาง ไม่วอกแวกวุ่นวาย แต่ถ้าเมื่อไหร่เป็นหนังสือเราเองล่ะก็ อีโก้มาตรึมๆๆ  บางทีโดนติหน่อย ช้ำใจ รมณ์บ่จอย หรือไม่บางทีก็แก้ซะจนไม่เป็นตัวของตัวเอง signature หายไปโหม้ดด เป็นต้นค่า

4. งานน่าสนใจในตัวเอง เวลา  Ghostwriter ได้โปรเจคเขียนเรื่องใคร  ยิ่งถ้าคนนั้นเป็นคนน่าสนใจ เป็นคนมีชื่อเสียง โอกาสจะเข้าถึงเค้าก็ยาก เรียนรู้จากเค้าก็ยาก เพราะเค้าคงไม่ว่างมาคุยกะคนธรรมดาเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็น  Ghostwriter ต้องเขียนเรื่องเค้า คุณได้สิทธิ์นั้นเดี๋ยวนี้!
แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ตามนะคะ อาชีพ  Ghostwriter ก็ยังคงเป็นอาชีพนักเขียนแขนงนึงอยู่ดี ไม่ว่าจะออกสื่อหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่พ้นที่จะต้องฝึกฝนๆๆๆๆ ปรับปรุงแก้ไข พัฒนาทักษะตัวเองขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

หลินเอาใจช่วยให้นักเขียนทุกคน ไม่ว่าจะเลือกเส้นทางนักเขียนหรือเส้นทาง  Ghostwriter ประสบความสำเร็จในอาชีพของตัวเองกันทุกคนนะคะ^^

หลิน^^