Monday, June 29, 2015

สร้างเงินด้วยงานเขียน amazon kindle วางขายแล้ววววนะคะที่อุ๊คบี

หนังสือหนา 99 หน้า A4 ราคา 390 บาท ซื้อผ่าน AIS เหลือ 349 บาท บอกทุกสเต็ป บอกทุกขั้นตอนในการเขียนหนังสือไปขายที่ Amazon แบบไม่มีกั๊ก! อ่านจบแล้วขายหนังสือไม่ได้ เพราะมีอย่างเดียวคือคุณไม่เริ่มเขียนเท่านั้น!

ทดลองอ่านหนังสือคลิกที่นี่ค่ะ download ผ่าน Meb Market และ กด Get Free Sample 


ซื้อหนังสือได้ทั้งที่ Meb Market (ลิงค์ข้างบน) และ ookbee (ลิงค์ข้างล่าง) 
http://www.ookbee.com/Shop/Book/8b05f8c1-17fb-4558-8188-4d6fb69708c1/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-amazon-kindle

หลิน^^

Sunday, June 21, 2015

ก่อนจะเป็นนักเขียนอิสระ (ตอนที่ 2)

จากตอนที่ 1 ก่อนจะเป็นนักเขียนอิสระ http://ebookmakerich.blogspot.com/2015/06/1.html
หลินได้เล่าถึงช่วงเวลาในการเตรียมตัวก่อนวางหนังสือขาย 1 ปีค่ะ
โพสที่ 2 เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก เรานั่ง time machine มาล่ะ สมมติว่าตอนนี้ผ่านไป 6 เดือนแล้ว ในฐานะนักเขียนอิสระเราควรทำอะไรมั่ง ในอีกช่วงเวลา 6 เดือนที่เหลือก่อนหนังสือออกขาย

มาติดตามกันเรยยยย

1. อย่าguardตก ตรงนี้อธิบายได้ว่าเมื่ออีก 6 เดือน หนังสือจะออกล่ะ คุณเองก็คงต้องยุ่งวุ่นวายกับการตรวจต้นฉบับ แก้ไข ปรับปรุง หารูปประกอบและอีกหลายหน้าที่เยอะแยะ บอกได้เลยว่ามีความเป็นไปสูงงงง ที่คุณจะไม่มีเวลาอัพ social media ของตัวเองไป หันมาอีกทีเพจไม่ขยับมา 2 อาทิตย์ล่ะ




ขอบอกเลยว่าอย่าค่า แหม่ ทำมาตั้งเยอะแล้วจะมาฟอร์มตก การ์ดตกเหมือนมวยหมดแรงได้ไง ช่วงนี้ควรเป็นช่วงที่อัพให้สม่ำเสมอพอๆ กับช่วงแรก คอยรักษา online fanclub ไว้ให้ดีเพราะคนกลุ่มนี้ล่ะเป็น potential customer ของเราในช่วงแรก

วิธีการที่เหนื่อยหน่อยแต่ได้ผลดีกันลืมก็คือ จัดเวลาในแต่ละอาทิตย์เพื่อเขียนโพสหลายๆ โพสในครั้งเดียว แล้วตั้งเวลาไว้ออกโพสกระจายตลอดไปทั่วอาทิตย์

อย่าลืมว่ามีโพสบ่อยๆ เรื่องเล็ก เรื่องน้อย ดีกว่ามีเรื่องเดียวตู้มแล้วจบข่าวหายไปอีก 2 อาทิตย์มาใหม่น้า



2. เตรียมเขียนคำโฆษณาหนังสือของตัวเองไว้ อย่าลืมว่าพอหนังสือใกล้ๆ จะออกเราควรจะปูพรมโฆษณาตาม group หรือเพจต่างๆ ทั้งแบบเสียเงินและไม่เสียเงิน (ขึ้นกับกำลังทรัพย์) ซึ่งพวกนี้ต้องทำล่วงหน้า ไม่ใช่พอหนังสืออกทำเลยก็เกรงว่าจะไม่ทันกาล




ดังนั้น ควรเขียนคำโปรยโฆษณาไว้ ถ้าเป็นนิยายควรมีพล็อตเรื่องคร่าวๆ ไว้โฆษณาว่ามันเกี่ยวอะไร เพื่อนแพงหรือไง ดราม่าขนาดไหน ถ้าเป็นเรื่องอื่่นๆ ควรมีสารบัญคร่าวๆ ว่าในหนังสือจะบอกอะไรบ้าง นอกจากนี้ ยังควรเตรียมประวัติผู้เขียน เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเวลาเขียน ภูมิหลังกว่าจะมาเป็นหนังสือ สุดแล้วแต่เทคนิคใครก็เทคนิคเค้า เตรียมไว้เป็นชุดเดียวกันค่ะ



3. เมื่อไหร่ที่ปกหนังสือเสร็จ เตรียมทำไฟล์ jpg หลายๆ ขนาดเก็บไว้เครื่องรวมไปถึงไฟล์ pdf ด้วย เพราะเวลาจะใช้จะได้เอามาประกอบกับข้อ 2 ได้ทันท่วงที




4. วางแผนการโฆษณาหนังสือของตัวเองและดูเงินในกระเป๋า ถึงขั้นนี้แล้วคงต้องมีวันหนึ่งที่เราต้องมาจริงจังเรื่องวางแผนโฆษณาหนังสือตัวเอง ว่าจะทำยังไง จะผ่านสื่ออะไรดี กลุ่มเป้าหมายคนอ่านหนังสือเราคือใคร ทำไมเค้าต้องอ่านหนังสือเราอ่ะ เราวางแผนจะโฆษณาแบบเสียเงินหรือไม่ ถ้าเสียเงินมีตังค์ในกระเป๋าเท่าไหร่


หลินแนะนำว่า จงเริ่มโฆษณาแบบไม่เสียเงินก่อนค่ะ เริ่มด้วยวิธีง่ายๆ บ้านๆ คือลงใน blog, เพจของตัวเอง (แบบ soft sell) ไปลงตาม group ต่างๆ จากนั้นรอดูฟีดแบก แล้วใกล้ๆ หนังสือออกค่อยโฆษณาเสียเงินอีกที (ถ้าต้องการ) 

ตอนหน้ามาติดตามการเตรียมตัวภาคต่อของ "ก่อนจะเป็นนักเขียนอิสระ ตอนที่ 3" ซึ่งจะเล่าว่าอีก 2 เดือนก่อนหนังสือออก นักเขียนต้องทำยังไงดีนะ!

เส้นทางนักเขียนขายดีอยู่แค่เอื้อมค่ะ โปรดติดตามนะจ๊ะ

หลิน



Tuesday, June 16, 2015

ก่อนจะเป็นนักเขียนอิสระ (ตอนที่ 1)

สำหรับนักเขียนมือใหม่ทั้งหลาย หลายคนอาจจะท้อ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี ไม่แน่ใจว่าจะทำอะไรก่อนหลัง เพราะอาชีพนักเขียนอิสระ ไม่มีสำนักพิมพ์มาคอยทำโปรโมชั่นให้ ไม่มีสายส่ง ไม่มีตัวแทนจำหน่าย ไม่มีพนักงานจัดหนังสือเข้าชั้น และอีก ฯลฯ สรุปก็คือไม่มีอะไรสักอย่างค่ะ

ดังนั้น จึงสำคัญมากกกก ที่นักเขียนอย่างเราๆ ต้องเรียนรู้บทเรียนชีวิต ทำ marketing ทำโปรฯ ส่งเสริมการขาย PRหนังสือ ฯลฯ นอกเหนือจากความเชียวชาญในเรื่องที่เราจะเขียนค่ะ

หลินได้ไปเจอบทความนี้มา เค้าปูพื้นเส้นทางนักเขียนอิสระ โดยทำ timeline แยกเป็นเฟสๆ ไว้ ซึ่งหลินคิดว่าดีมากๆ เลย เพราะนักเขียนอิสระอย่างเราๆ บางทีก็ลืมนู่นนั่นโน่นนี่ บางทีแค่คิดพล็อตหนังสือกับสารบัญ แค่นี้ สมอง (น้อยๆ ) ของเราก็แทบโอเวอร์โหลด บทความนี้เลยเป็นเหมือน checklist ที่ดี ที่คอยเตือนว่าเราควรทำอะไรมั่งนะ

เริ่มตั้งแต่เป็นนักเขียนอิสระมือใหม่กันเลยค่ะ วางแผน 1 ปีล่วงหน้าก่อนจะวางขายหนังสือ (ระหว่างนี้ก็เขียนหนังสือไปด้วยน้า)

1. ตั้งเป้าหมายและความคาดหวังของเรา ตรงนี้ใครอ่านก็เหมือนว่า อ่านผ่านๆ ไปเห๊อะ เพราะตำราๆ ไหน ไม่ว่าจะทำเรื่องอะไรๆ ก็บอกให้ตั้งเป้าๆ ตั้งแล้วได้อะไร เสียเวลาปล่าว




ความจริง หลินบอกได้เลยว่าที่ตำราๆ เค้าว่ากันอ่ะค่ะ ถูกแล้ว สังเกตดูเวลาเราไม่ตั้งเป้า (ในทุกเรื่องนะ) เรามักจะปล่อยตัวเอื่อยเฉือยไปเรื่อยๆ หมดเวลาไปวันๆ สมมติมีคนถามว่าหนังสือจะเสร็จเมื่อไหร่ ถ้าเราตอบว่าค่อยๆ เขียนไม่รีบ บอกได้เลยว่าอีกนานแน่กว่าจะเสร็จ หรือถามเมื่อไหร่จะลดนน.สำเร็จ บอกว่าค่อยๆ ลด เห็นเมื่อไหร่ก็อ้วนเหมือนเดิม (นี่เอาชีวิตจริงมาตีแผ่ชัดๆ ! !)

ตั้งเป้าแล้วอย่างเดียวไม่พอ ต้องจริงจังกะเป้าด้วย แล้วก็ต้องชัดเจนว่าเราคาดหวังอะไร เช่น อยากเขียนหนังสือขาย คาดหวังเขียนให้เสร็จภายใน 1 ปี เป็นต้น



2. เริ่มสร้าง social media profile ไม่ว่าเป็น facebook, fanpage, blog, twitter เลือกดูว่าอันไหนเหมาะกับเรา หรือใช้หลายๆ ช่องทางร่วมกัน




เพราะแต่ละ social media มีลักษณะเด่นไม่เหมือนกันค่ะ เช่น facebook ก็จะเน้นเป็นเรื่องส่วนตัว เพื่อนฝูง ญาติมิตร fanpage ก็จะเป็นธุรกิจขึ้นมาหน่อยแต่มีข้อเสียคือ newsfeed ไหลไปเรื่อย โพสตกเร็วและโอกาสเข้าถึงคนให้มากๆ จะมีน้อยลงเรื่อยๆ (เพราะ facebook บังคับให้คนทำ fanpage เสียตังค่าโฆษณา) 

Blog เหมาะกับบทความยาวๆ เป็นที่รวบรวมผลงานเขียนต่างๆ ได้ดี แต่ข้อเสียคือต้องโปรโมท ไม่งั้นโอกาสเข้าถึงคนอ่านก็น้อย เป็นต้น

จากนั้น ว่าที่นักเขียนทั้งหลายควรเริ่มสร้างตัวตนผ่านทาง platform เหล่านี้ค่ะ หลายคนอาจถามว่าทำไมต้องสร้างตั้ง 1 ปีล่วงหน้าไม่นานเหรอ! บอกได้เลยค่ะจากประสบการณ์จริง การสร้างตัวตนใน social media ใช้เวลา มากหรือน้อยขึ้นกับว่า content โดนใจคนอ่านแค่ไหน เรื่องนั้นเป็นกระแสสังคมอยู่หรือเปล่า ดังนั้น 1 ปีไม่ถือว่านานเกินไปค่ะ



3. หลังจากมี social media profile แล้ว สิ่งที่ควรทำต่อคือต้องหมั่นขยันอัพ ทำให้เกิด traffic อยู่เสมอๆ ไม่งั้นก็เปล่าประโยชน์ที่จะมี คงไม่มีคนอ่านคนไหนเข้ามาทีไร เพจก็ร้าง เข้าบล็อคทีไรบล็อคก็เป็นข้อมูลเดิมตั้งแต่เดือนก่อน เป็นอย่างงี้บ่อยๆ เข้า คนอ่านก็ไม่เข้ามาอีก


ดังนั้น ก่อนจะทำ social media จงดูว่าตัวเองมีความสามารถแค่ไหนในการบริหาร social media (ค่าเฉลี่ยของหลินในทุกเพจคืออาทิตย์ละ 3-4 โพส) ทำแล้วต้องทำเลยอย่างสม่ำเสมอ ห้ามเลิก (เหมือนแต่งงานเลยเนาะ)

ข้อมูลใน social media ก็ควรเป็นสร้างฐานแฟนคลับของเรา เนื้อหาเกี่ยวกับหนังสือ บทความที่เกี่ยวข้อง บอกว่าเรากำลังทำหนังสืออะไร และจะเสร็จเมื่อไหร่ สนับสนุนให้แฟนคลับมามีส่วนร่วม พูดคุย ใน social media ของเราค่ะ


4. สร้าง connection ของคนในวงการเดียวกัน ตรงนี้หลายคนอาจมีความคิดว่า เฮ้ย เดี๋ยวก็แย่งลูกค้ากันหร้อก จริงๆ แล้วเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกค่ะ การสร้าง connection ช่วยให้เราเรียนรู้จุดเด่นของคนอื่น พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ปิดจุดด้อยของตัวเอง เปิดโลกทัศน์ ฯลฯ บางทีเรารู้ของเราคนเดียว เราคิดว่าเราเก่ง โดน แต่ไม่ได้รู้เลยว่า โลกของงานของเราเค้าไปกันไกลแล้ว




การมี connection ช่วยให้เราเห็นภาพกว้างมากขึ้นค่ะ ถ้าสัมพันธภาพเราดี ในอนาคตเราได้ได้ทำโปรเจคเป็นพันธมิตรร่วมกันก็ได้ ไม่ต่างอะไรกับ 7-11 ที่เปิดเกือบทุกมุมถนน ถามว่ามาแย่งลูกค้ากันไหม ความจริงคือไม่ว่าจะเข้าร้านไหนเจ้าของได้ตังหมด จบข่าว (คือเขารวยคนเดียวค่าาา)

วิธีหาพันธมิตรที่ดีก็คือ คอร์สอบรมสัมมนาทั้งหลาย Group ต่าง ๆ ใน facebook เป็นต้นค่ะ



5.ส่งตัวอย่าง ดราฟหรือต้นฉบับหนังสือไปให้คนอื่นๆ อ่าน พอเราเริ่มเขียนหนังสือไปได้สักระยะ เราสามารถส่งดราฟหนังสือไปให้คนอื่นอ่านว่าชอบไหม หนังสือแบบนี้เป็นไง พล็อตแบบนี้เป็นไง มีอะไรจะเม้นท์ไหม



เราสามารถส่งไปที่ connection นักเขียนที่เรามี ซึ่งเป็นคนวงการเดียวกันให้เม้นท์ได้ หรือถ้ากลัวความลับรั่วไหล ก็ส่งไปให้เพื่อน ญาติหรือคนที่สนใจหนังสือแบบที่เราจะขายอ่านเพื่อเม้นท์ก่อนก็ได้

ไว้มาต่อกันคราวหน้าเรื่อง ก่อนจะเป็นนักเขียนอิสระ (ตอนที่ 2) นะคะ

หลิน




Friday, June 12, 2015

คุณอยากเป็นนักเขียนเพราะอะไรคะ?

ถ้าตัวหลินเองก็คือ เป็นคนชอบพูดค่ะ (แถวบ้านเรียกพูดมาก แถวบริษัทเรียกอัธยาศัยดี 55) 

เมื่อเราชอบพูดแล้ว งานเขียนก็ถือเป็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง เพราะเราก็แค่เอาเรื่องที่จะพูดมาแปลงเป็นเรื่องที่จะเขียนเท่านั้นเอง (คิดง่ายๆ แบบนี้ค่า) 



เวลาหลินจะเขียนทุกครั้ง จะมโนว่าเราเหมือนกำลังจะพูด หรือเล่าให้คนใกล้ตัวฟัง เราอยากเล่าอะไรให้เค้าฟังน้า ตรงไหนที่เราอยากเน้น ตรงไหนที่เราอยากเติมความเห็นส่วนตัวเข้าไป ทำไมตรงนี้เราถึงนำเสนอแบบนี้ ฯลฯ

เรื่องเดียวกัน แต่คนเล่าประสบการณ์ต่างกันก็เล่าไปคนละทางล่ะ

ดังนั้น หลินคิดว่าไม่สำคัญเท่าไหร่ที่งานเขียนของเราอาจมีเนื้อหาซ้ำกับที่ตลาดมีอยู่แล้ว (ไม่ใช่ลอกน้า) แต่สำคัญมากที่เราต้องหาสไตล์ของเราเองให้เจอ และสร้างงานเขียนให้มีคุณค่าต่อคนอ่านยังไง ทำยังไงให้ดีกว่าทีเค้าขายๆ กันในตลาด หรือตลาดยังไม่เคยมีมาก่อน

คุณล่ะคะ? อยากเป็นนักเขียนเพราะอะไร?

หลิน

Wednesday, June 10, 2015

บันได 9 ขั้นสู่หนังสือขายดี (ตอนที่ 2)


เมื่อวานนี้เราคุยกันว่า ‪‎หนังสือขายดี มีหลายปัจจัย 1 ในนั้นก็คือเทคนิคต่างๆ ที่หลินเอามาแชร์กันค่ะ โดยรวบรวมมาจากนักเขียนระดับ ‪‎bestseller ทั้งหลาย

หลายคนมีเทคนิคเฉพาะตัวมากๆ เรียกว่าไม่ใช่แฟนทำแทนบ่ได้เลยทีเดียว แต่เทคนิคที่หลินรวบรวมมานี้ ดูแล้วว่าเป็นเทคนิคที่นักเขียนหนังสือแนวไหนก็ลองเอาไปปรับใช้ได้ มาอ่านต่อกันที่ขั้น 5 จนถึงขั้น 9 เลยค่ะ

ป.ล. อ่านจบแล้ว อย่าซึมซับเฉยๆ ต้องลงมือปฏิบัติด้วยน้า ถึงจะเห็นผล หรือใครมีแนวอื่นที่ช่วยโปรโมทหนังสือตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเป็น ‪eBook ใน ‪Amazon เท่านั้นก็มาแชร์ประสบการณ์กันได้เลยค่ะ

แลกเปลี่ยนความรู้ เราจะได้พัฒนาตัวเองและเก่งขึ้นๆ ด้วยกันนะจ๊ะ^^




ขั้นที่ 5 หมวดหมู่ต้องถูก

ปกติเวลาหนังสือเอาไปขายตามร้าน จะต้องมีพนักงานร้านมาจัดหนังสือลงเป็นหมวดๆ ให้ลูกค้าหาเจอใช่ไหมคะ แต่เพราะว่านี่เป็น eBook เราจำเป็นต้องลงหมวดหมู่เองค่ะ การจัดหมวดนี่สำคัญมากกกกกก (กอไก่ล้านตัว) หลายคนไม่ตั้งใจทำให้ดี กลับมาตกม้าตายตอนจัดหมวดซะงั้น

คิดง่ายๆ จัดหมวดผิดลูกค้าหาไม่เจอ หนังสือดียังไงแต่คนซื้อหาไม่เจอก็จบห่านค่ะ ประหนึ่งว่าหนังสือเราขายวิธีการ DIY จัดสวนแต่เอาไปไว้หมวดวรรณกรรมเยาวชนแฮรี่ พอตเตอร์ยังไงยังงั้น (คนอ่านแฮรี่คงมีน้อยคนที่คิดอยากจัดสวนหลังบ้านอ่ะ)

ขั้นที่ 6 รายละเอียดหนังสือต้องเยี่ยม

หนังสือทั่วไปจะมีปกหลัง หรือคำนิยมข้างหน้าสรุปสั้นๆ ว่าหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับอะไร eBook ก็เหมือนกันค่ะ จะมีช่องเรียกว่า description ให้เขียนบรรยายหนังสือตัวเอง พูดง่ายๆ description คือใบปิดโฆษณาอย่างย่อของหนังสือนั่นเองค่ะ

วิธีการคือเขียนให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย (ถึงแม้ว่าหนังสือคุณจะเป็นหนังสือเฉพาะทางมากกๆๆ แต่พยายามเขียนให้อ่านง่ายเข้าไว้ เค้าจะได้ตัดสินใจซื้อได้ง่าย) บอกคนอ่านว่าจะได้อะไร และอย่าลืม (ถ้ามีโอกาส) แทรก ‪‎keyword ไว้บ้าง (ตามแผนบันไดขั้นที่ 1อิ อิ)

ขั้นที่ 7 หาคนมาเชียร์ของ

สำหรับ eBook ใน Amazon จะมีช่องให้ customer review ค่ะ เค้าแนะนำว่าเราสามารถให้เพื่อน ญาติ คนรู้จักมาช่วยเขียนรีวิวในหน้านี้ได้ วิธีนี้จะช่วยสร้าง traffic และความคึกคักของหนังสือเราให้มากขึ้น จนส่งผลให้ผ่านสายตาลูกค้าตัวจริงในที่สุด เย้!

ขั้นที่ 8 อย่าลืมโปรโมทหนังสือตัวเอง

ในร้านหนังสือทั่วไป บางทีเราจะเห็นซุ้มโปรโมทหนังสือเล่มนู้นนี้ ติดป้าย “แนะนำ” ติดป้าย “ออกใหม่” และติดป้าย “ขายดี” ฯลฯ เหล่านี้เป็นวิธีโปรโมทหนังสือในร้านหนังสือค่ะ

ใน Amazon ก็วิธีโปรโมทหนังสือแบบนี้เหมือนกัน แต่คนเขียนต้องเข้าไปทำเองเพราะเป็น self-publishing 100% วิธีที่ว่าได้แก่ แจกให้โหลดฟรีในระยะเวลาที่กำหนด ลดราคาภายในวันเวลาที่กำหนด ให้คนอื่นเป็นของขวัญ ทำโฆษณาแบบเสียตังค์ (คล้ายๆ facebook ad) ฯลฯ ขึ้นอยู่กับงบของนักเขียนและวิธีการค่ะ

ขั้นสุดท้าย ขั้นที่ 9 ใช้ social media ช่วยกระตุ้นยอด

ทั้ง blog, Fanpage ไปแปะลิงค์ตาม group ที่เนื้อหาเกี่ยวกับหนังสือเรา ว่ากันง่ายๆ วิธีไหนก็ตามให้เข้าถึงคนได้มากที่สุดก็จัดไปค่ะ

หวังว่าจะได้ประโยชน์กันถ้วนหน้าค่า^^


หลิน

Tuesday, June 9, 2015

บันได 9 ขั้นสู่ ‪#‎หนังสือขายดี‬ (ตอนที่ 1)

หลินเชื่อว่าเป้าหมายสูงสุดของนักเขียนทุกคน ก็คืออยากให้หนังสือตัวเองขายดี มีคนชอบ และคงภูมิใจน่าดูที่เห็นผลงานของตัวเองวางขาย ตัวเองก็เป็นหนึ่งในนั้น ไหนๆ รักจะทำหนังสือ อยากเป็นนักเขียนตามฝัน ก็พยายามเสาะหาวิถีทางที่ทำให้หนังสือขายดีหรือมีคนชอบ ค้นหาวิธีว่านักเขียนระดับ ‪bestseller เค้าทำไงกันนะ หาข้อมูลมาก็เยอะ อ่านตำรานู้นนี้นั้นเยอะแยะ ปวดตาก็มาก 55 



จนได้ข้อสรุปที่คล้ายๆ กันของนักเขียนขายดีทั้งหลาย ว่าส่วนใหญ่เค้าทำกันแบบเนี้ยค่ะ (อาจจะมีมากกว่านี้ก็เป็นเรื่องพรสวรรค์หรือความสามารถเฉพาะตัวของนักเขียนคนนั้น ประมาณว่าเส้นทางเศรษฐีเค้าทำกันแบบเนี้ย วิธีรวยประมาณนี้ แต่คนนี้เค้ารวยจากเรื่องไอที คนนั้นเค้ารวยจากเรื่องซื้อกิจการมาแต่งหน้าแล้วขายต่อ ฯลฯ)

มาติดตามอ่าน บันได 9 ขั้นสู่หนังสือขายดี ที่เอาไปใช้กับงานเขียนอื่นๆ ได้อีกด้วยค่ะ ไม่จำเป็นเฉพาะตลาด eBook‬ ใน ‪Amazon อย่างเดียว

ขั้นที่ 1 เค้าว่าหนังสือดีต้องมี keywords
หมายถึงว่าเราในฐานะนักเขียนต้องหา keywords ให้หนังสือ keywords ตัวไหนที่คนชอบ search ชอบหา เป็น Top search เราควรบรรจุคำเหล่านี้ไว้ในคำโปรย ปกหน้า ปกหลัง หรือที่อื่นๆ ในหนังสือของเราด้วย เพื่อให้เวลาลูกค้าหา keywords พวกนี้จะได้หาเจอง่าย ติดชื่อหนังสือของเราไปด้วย

Keyword ที่ดีไม่ควรเป็นคำธรรมดาเกิ๊น ยกตัวอย่างเช่น คำว่า love เพราะใครๆ ก็หา หากันเยอะแยะ แล้วเมื่อไหร่จะถึงเราล่ะ อาจเป็นหน้าที่ 1,890 ในอากู๋ก็เป็นได้ ดังนั้นควรจะเป็นคำที่คนหาเยอะ และหากจะใช้ loveอยู่ ก็ควรเฉพาะเจาะจงลงไป เช่น love story หรือ love home & kitchen เป็นต้น

ขั้นที่ 2 ‪‎ชื่อหนังสือต้องโดน‬
เอากฎ 5 อย่างไปเลยค่ะ ได้จำง่ายๆ

1. จำง่าย มีจังหวะของคำ (คงไม่มีใครจำชื่อหนังสือยาวเป็นวาได้ สังเกตดู ชื่อหนังสือ ชื่อยี่ห้อสินค้า ส่วนใหญ่มักกระชับ สั้น 3-4 พยางค์แค่นั้น บางทีคล้องจองกันด้วย)
2. ไม่ต้องใช้คำยาก และยาวเกินไป (ถ้ายากเกิน อ่านแค่ชื่อปกก็ท้อล่ะ ขี้เกียจอ่าน แล้วใครจะซื้อ)
3. สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมาย (เช่น ขายหนังสือลดน้ำหนัก คำอะไรที่คนลดน้ำหนักอยากเห็น หรือขายหนังสือทำกับข้าว ก็ไม่ควรจะพูดถึงความอ้วน—เกิดเค้ากลัวขึ้นมาแล้วใครจะซื้อ)
4. อ่านแล้วรู้ว่าหนังสือเล่มนี้ พูดถึงเรื่องอะไรภายใน 3 วินาที (ไม่ใช่อ่านจบแล้วยังงง นี่หนังสืออะไรอ่ะ)
5. บอกสิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับเมื่ออ่านจบแล้ว หรืออ่านแล้วจะรู้เรื่องอะไรบ้าง (เช่น บอกว่าจะผอม บอกว่าจะเปลี่ยนเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม บอกว่าจะพัฒนาสมองซีกซ้าย บอกว่าจะรู้ว่าไปเที่ยวเมืองไทยแล้วสนุกยังไง ฯลฯ)

ขั้นที่ 3 ‪คำโปรย‬ (subtitle) ปกต้องโดน
ต้องมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับปกหนังสือค่ะ อย่างน้อยต้องส่งเสริมกัน ไม่ใช่ไปคนละทาง สมมติว่าชื่อหนังสือบอกว่า “ออกกำลังกายทุกวันแล้วจะสวย” คำโปรยปกก็ควรจะประมาณว่า “เทคนิคสร้างการออกกำลังกายให้เป็นนิสัย ถึงแม้ว่าเราจะโคตรขี้เกียจก็ตาม”

ขั้นที่ 4 ‪รูปปกต้องเด่น‬
เพราะเวลาหนังสือขายไม่ว่าจะเป็น eBook หรือหนังสือเล่ม เราจะต้องเจอคู่แข่งมหาศาล มโหฬาร รูปปกที่ดีต้องเห็นแวบเดียวแล้วรู้เลย ไม่งั้นลูกค้าอาจผ่านไปเลือกตัวเลือกอื่นๆ ก็ได้ สิ่งสำคัญได้แก่ ตัวหนังสือต้องอ่านง่าย และขนาดใหญ่พอที่จะอ่านออก ตัวหนังสือไม่จมไปกับ background และ background อย่ารกเกิ๊น จนเหมือนประหนึ่งว่าใครอ่านออกสามารถไปขูดเลขแทงหวยได้

เดวมาต่อตอนหน้ากับ บันได 9 ขั้นสู่หนังสือขายดี (ตอนที่ 2) นะคะ^^

หลิน

Friday, June 5, 2015

วิธีจัดหน้า Microsoft Word ใน ‪Amazon Kindle‬

จากโพสตอน ถ้าไม่เก่งคอมพ์ ไม่เก่งกราฟฟิค จะทำหนังสือ ‪‎eBook‬ ขายใน‪ ‎Amazon‬ ได้ไหม?

ทบทวนความจำกันอีกสักนิด ประเภทไฟล์ที่ Amazon Kindle รับได้แก่
word.doc/docx
HTML
ePub
Jpg, pdf, tiff, png (ไฟล์รูปภาพทั้งหลาย)



เนื่องจากตัวหลินเองก็ไม่เก่งกราฟฟิคเหมือนกันค่าาา ตอนทำหนังสือขายจึงเลือกวิธีจัดหน้าที่ง่ายที่สุด วิธีธรรมดาที่ใครๆ ก็ทำได้ นั่นคือจัดด้วย Microsoft word

เพราะนอกจากง่ายแล้ว เวลา Amazon Kindle แปลงไฟล์จาก Microsoft word เป็นไฟล์ในฟอร์แมทของ Kindle เอง ผู้อ่านสามารถเลือกขนาด font size ใหญ่เล็กได้ตามต้องการตามเครื่องมืออ่าน eBookของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นจอเล็กแบบ Iphone หรือจอใหญ่แบบ Tablet ก็จะไม่มีปัญหาต้องมาซูมเข้าออก เลื่อนซ้ายขวาหน้าที่กำลังอ่านเลย เพราะ Kindleมันจะติดบรรทัดให้พอดีกับหน้าจอแสดงผลของเราค่ะ เรียกว่าใช้แล้วจะติดใจ

(จริงๆ HTML หรือ ePub เวลาแปลงไฟล์เป็น ‪‎Kindle format‬ ก็ทำได้เหมือนกันค่ะ ยิ่งหากใช้ HTML code การแปลงไฟล์เป็น Kindle จะเหมือนต้นฉบับเลย แต่เราใช้แค่ Microsoft word ก็เหลือแหล่แล้วค่ะ เท่าที่ลองแปลงไฟล์มาก็ยังหาจุดเพี้ยนไม่เจอนะคะ)

ที่นี้การจัดหน้าด้วย Microsoft word มีขั้นตอนแตกต่างจากการพิมพ์งานปกติอยู่บ้าง หลินขอสรุปให้ฟังดังนี้เลย เนื้อๆ จัดไป น้ำไม่ต้อง อิ อิ (อันนี้ทำเพื่อให้เวลาแปลงไฟล์เป็น Kindle format จะได้เหมือนต้นฉบับเรามากที่สุดค่ะ)

1. เวลาขึ้นหน้าใหม่ หรือบทใหม่ ไม่ใช้เคาะ enter จนขึ้นหน้าใหม่ ให้ใช้ page break แทน

2. วิธีใส่รูป ให้ไปที่ insert picture อย่าใช้วิธี copy แล้ว paste อย่างที่เคยทำ

3. เวลา save ไฟล์ให้ save แบบ “Web Page - filtered" (คือใช้คำสั่ง save as แล้วเลือก save as type เป็น Web Page - filtered) เหตุผลเพราะว่าเมื่อเวลาแปลงเป็น Kindle format จะแสดงผลถูกต้องมากที่สุด

4. ให้ระวังว่า พวกจุดย่อหน้า (bullet points) , Font แปลกๆ , header และ footer เวลาแปลงไฟล์ eBook ขายใน Amazon Kindle พวกนี้จะไม่ติดมาด้วยค่ะ ฉะนั้น หลีกเลี่ยงอย่าใช้ดีกว่า เพราะไงก็ไม่เห็นอยู่ดี หรือเห็น font แปลกๆที่เราใส่ไปเป็นตัวยึกยือ อ่านไม่ออก

5. เวลาต้องการย่อหน้าอย่าใช้ Tab ให้ใช้คำสั่ง Page Layout แล้วตั้งค่า indent แทน

ประมาณนี้ค่ะ หวังว่าจะช่วยแฟนเพจตอนเขียนหนังสือ ทำงานง่ายขึ้นนะคะ 

หลิน^^

Thursday, June 4, 2015

SkillLane ขั้นตอนการทำ eBook บน Amazon เพื่อขายให้คนทั่วโลก



หลินได้รับโอกาสจากทาง www.skilllane.com ในการทำคอร์สสัมนา "เรียนเขียน เพื่อ ‪ขายบนAmazon‬" แบบออนไลน์เป็นครั้งแรกค่ะ!

ส่วนตัวแล้วรู้สึกว่าตื่นเต้นมากๆ ที่เดี๋ยวนี้อยู่ที่ไหน (ในโลก) ก็เรียนได้ แหล่งความรู้มีทุกหนแห่ง อยู่ที่เราจะเลือกจริงๆ สมเป็นโลกแห่งยุคข้อมูลข่าวสารโดยแท้

‪‎คอร์สออนไลน์‬ นี้ เป็นการถ่ายคลิปบรรยายประสบการณ์การทำหนังสือของหลินไปขายที่ Amazon ทั้งหมด พร้อม power point presentation ประหนึ่งได้ไปนั่งเรียนด้วยกันแบบตัวเป็นๆ เลยทีเดียวค่ะ



เหมาะอย่างมากๆ สำหรับคนที่อยู่ต่างจังหวัด หรือ คิวงานแน่นเปรี๊ยะ ยากจะนัดวันมาเจอกันได้

คราวนี้ไม่มีอุปสรรคระหว่างเราล่ะค่ะ 55
เพราะได้เจอกันแบบ ‪‎online‬ แล้วนะคะ

ถ้าเรียนแล้วมีคำถามหรือข้อสงสัย เขียนมาถามในเพจได้เลยค่ะ ถ้าเป็นคำถามที่หลินรู้แล้วจะรีบตอบ จะได้เป็นประโยชน์กับ (ว่าที่) ‪‎นักเขียน‬คนอื่นๆ

ถ้าหลินยังไม่รู้ จะไปไขว่คว้าหาคำตอบมาให้ค่ะ^^

(อนาคต) ‪#‎นักเขียนขายดี‬ รออยู่ จะรออะไรเล่าคะ

เขียนหนังสือขายแล้วบอกด้วยนะคะ จะได้ไปอุดหนุน^^

หลิน
‪online course‬

ขอขอบคุณ พี่ม้อค เจ้าของสนพ.ดีดีที่ให้โอกาสได้บรรยายค่ะ และคุณนัท Co-founder ‪skillane‬ ที่ให้โอกาสค่ะ