Tuesday, July 21, 2015

วิธีเอาผลงานคนอื่นมาขายใน Amazon ให้ถูกกฏ บอกแบบหมดเปลือก!

หลายคนที่อยากขายหนังสือบน Amazon แต่ติดที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไรดี ยังตกผลึกไม่ได้ ยังต้องใช้เวลาในการคิด ฯลฯ

วันนี้หลินมีอีกแนวทางเลือกหนึ่งมานำเสนอค่ะ ไม่ต้องเป็นงานตัวเองก็เอาไปขายได้ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย และได้ตังค์เหมือนกัน!

ใน Amazon Kindle มีศัพท์เฉพาะคำนึง เรียกว่า Public Domain ค่ะ ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงเป๊ะเลยกะเรื่องที่เราจะคุยในวันนี้

อย่าเสียเวลามารู้จัก Public Domain กันค่ะ^^

Public Domain คือ ผลงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ที่ใครๆ (ในโลกนี้) สามารถนำผลงานนี้ไปใช้ต่อได้ฟรีๆ โดยที่ไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งจริงๆ แล้ว Public Domain works เนี่ยมีความหมายครอบคลุมใช้ได้กับหนังสือ เพลงหรือภาพยนต์ก็ได้ค่ะ ในที่นี้จะเน้นที่งานเขียนเป็นหลักนะคะ

และก็เพราะว่าเป็นผลงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ จึงไม่มีปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์เวลาเอาไปใช้

แต่เราจะรู้ยังไงล่ะว่า ผลงานไหนเป็น Public Domain  ? เดวพลาดเอาไปใช้โดน ban account อีกยุ่งตายเลย

วิธีการคือดูบนเงื่อนไขดังต่อไปนี้

ผลงานที่เข้าข่ายเป็น Public Domain ได้แก่

  1. ผลงานที่เป็น Public Domain โดยอัตโนมัติเพราะงานชิ้นนั้นไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ เช่น ข้อเท็จจริงต่างๆ (สูตรคูณที่เราท่องกันตอนเด็กๆ) หรืองานที่รัฐบาลเผยแพร่ให้สาธารณชนรับรู้
  2. ผลงานที่เจ้าของผลงานกำหนดให้งานของตัวเองไม่มีลิขสิทธิ์ (เหตุผลเพื่อให้ผลงานของตนเองแพร่หลายเป็นวงกว้าง) ใครจะเอาไปใช้ก็ใช้ได้ นึกไม่ออกก็หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมะ ที่ใครอยากพิมพ์ซ้ำเผยแพร่ก็ย่อมได้ 
  3. ผลงานที่เกิดก่อนปี 1923   ก็เพราะว่าก่อนหน้านี้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังไม่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ผลงานที่เกิดก่อนปี 1923 จึงเป็นผลงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ไปโดยปริยาย
  4. ผลงานที่ลิขสิทธิ์หมดอายุลง



หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วมีกรณีไหนบ้างล่ะที่ทำให้ลิขสิทธิ์หมดอายุลงล่ะ?

คำตอบก็คือผลงานที่อยู่ในเกณฑ์พวกนี้ค่าาา

  • ผลงานของนักเขียน (บุคคล) ที่มีลิขสิทธิ์และเสียชีวิตเกิน 70 ปีขึ้นไป  (พูดง่ายๆคือ เราใช้ผลงานเขาได้หลังจากเขาเสียไปแล้วเกิน 70 ปี) แต่หากว่าหนังสือเล่มนั้นมีผู้เขียนร่วมหลายคน ให้นับเอาจากคนสุดท้ายที่เสียชีวิตนะคะ อาจจะรอหน่อยนึง (แต่ถ้าเค้ายังหนุ่ม ไปเลือกเล่มอื่นเต๊อะเพราะเราอาจไปก่อน แหะๆ)
  • หากเป็นผลงานในนามองค์กรหรือหน่วยงาน ผลงานจะสิ้นสุดลิขสิทธิ์เมื่อ 95 ปีนับจากตีพิมพ์ครั้งแรกหรือ 120 ปีนับจากปีที่ผลงานนั้นถูกสร้างขึ้นมา ขึ้นอยู่กับว่าอายุไหนถึงก่อน (เลือกจำนวนปีที่น้อยกว่าเสมอ)
ดังนั้น เวลาที่เราจะเอาผลงานคนอื่นไปขายในลักษณะ Public Domain เพื่อความมั่นใจ ขอให้ตอบคำถามสักสองสามข้อข้างล่างนี้ก่อนค่ะ

  1. ใครเป็นคนสร้างผลงานเขียนชิ้นนี้?
  2. คนเขียนเสียชีวิตเกิน 70 ปี รึยัง?
  3. หากเป็นผลงานในนามองค์กรหรือหน่วยงาน ผลงานนั้นตีพิมพ์ครั้งแรกเกิน 95 ปี หรือมีอายุเกิน 120 ปีแล้วหรือยัง?
ตัวอย่างนะคะ
บทประพันธ์เรื่อง Romeo and Juliet เราอยากเอามาขายเป็น Public Domain ใน Amazon มากๆ เลย ขอให้ตอบคำถามนี้ก่อน

  1. ใครเป็นคนแต่ง คำตอบก็คือ William Shakespeare (ซึ่งเป็นบุคคลไม่ใช่องค์กร)
  2. เขาเสียชิวิตเมื่อไหร่  คำตอบก็คือปี 1616 ซึ่งเกิน 70 ปีขึ้นไปและยังก่อนปีที่จะมีกฎหมายลิขสิทธิซะอีก 
ดังนั้น บทประพันธ์ Romeo and Juliet จึงถือว่าเป็น Public Domain เราและคนอื่นๆ (ในโลกนี้) เอามาใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใครเลยค่ะ

หมายเหตุ กาดอกจันตัวโตๆๆ ด้วยน้าาา

  • กฏหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศอาจแตกต่างในรายละเอียดบ้าง
  • งานที่ดัดแปลงจากต้นฉบับดั้งเดิม (original version) ก็มีลิขสิทธิ์ของเค้านะคะ เช่นหนัง Romeo and Juliet ที่พระเอกสุดหล่อ (ในตอนนั้น) Leonardo Di Caprio แสดง ก็ถือว่าผลงานชิ้นนี้มีลิขสิทธิ์ ที่เกิดจากการดัดแปลงเนื้อหาให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ ถึงแม้สร้างจากบทประพันธ์ที่ถือว่าเป็น Public Domain แล้วก็ตาม พูดง่ายๆ คือถ้าเราจะทำหนังสือ  Romeo and Juliet  มาขาย ก็ทำได้เฉพาะเนื้อหาของWilliam Shakespeare ไม่ใช่ทำหนังสือจากเนื้อหาของ Romeo and Juliet เวอร์ชั่นเฮีย Leonardo ค่ะ^^

ซึ่งเท่าที่หลินหาข้อมูลในเนตมา มีคนไทยทำหนังสือจาก Public Domain  มาขายเหมือนกัน แต่ทั้งนี้เราก็ต้องเข้าใจก่อนว่าเนื่องจากผลงานเป็นผลงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ เรา (คนไทย) ทำขายได้ คนอื่นทั่วโลกก็ทำขายได้เหมือนกันนะคะ

หวังว่าคงจะได้ความรู้เกี่ยวกับ Public Domain กันมากขึ้นค่ะ เป็นอีกทางเลือกให้กับทุกคนนะคะ^^


หลิน^^

3 comments:

  1. ยอดเยี่ยมจริง/ค่ะ

    ReplyDelete
  2. Grammar, vocabulary, tenses, indirect speech, passive sentences must always be keep in mind while writing a blog. Everyone must read this blog. This is going to help everyone.ขอใบอนุญาตโฆษณาอาหาร

    ReplyDelete