Tuesday, September 1, 2015

เส้นทางอาชีพ Ghostwriter!! โรยด้วยดอกอะไร??

จริงๆ อาชีพ Ghostwriter ในเมืองไทยเนี่ย หลินว่ามีมานานแล้วนะคะ แต่ช่วงนี้มีกระแสเรื่องงาน Ghostwriter ออกมาค่อนข้างมาก อาจจะส่วนหนึ่งมีคอร์สสอน Ghostwriter ออกมาเยอะ และ Ghostwriter หลายคนก็ออกมาเปิดเผยตัวตนกับสื่อโซเชี่ยลมากขึ้น ได้เห็นหน้าเห็นตา เจอหน้าค่าตากันเยอะขึ้นๆๆ

อย่างที่รู้กันว่า Ghostwriter ก็คืออาชีพนักเขียนแบบมือปืนรับจ้าง เขียนแบบไม่ออกสื่อว่าเป็นฝีมือตัวเอง แต่ถึงแม้ไม่ออกสื่อ Ghostwriter ก็ต้องมีฝีมือในการเขียนเพื่อให้ถูกจ้างไปเขียนค่ะ

สำหรับอาชีพนี้ ฝรั่งเค้ามีมานานแล้ว หลายคนอาจจะอยากเริ่มเส้นทางนักเขียนด้วยการมีหนังสือของตัวเอง แต่ว่าทำไปๆ กลับคิด Ghostwriter เหมาะกะตัวเองมากกว่า



มาดูกันค่ะ ว่าจริงๆ แล้วอาชีพ Ghostwriter มีข้อดีตรงไหนนะ (นอกจากเงินค่าจ้าง)  หลายคนถึงยึดอาชีพ Ghostwriter เป็นหลักเลยและไม่เห็นจะอยากมีผลงานของตัวเองสักติ๊ดดเดียว

1. ข้อดีข้อแรกคือได้เงินก่อน อ่าว...ไหนบอกไม่พูดถึงเรื่องค่าจ้างไง ป่าวค่าา.....หมายถึงว่าอาชีพนักเขียนน่ะ ปกติแล้วต้องรอจนหนังสือพิมพ์เป็นเล่มหรือวางขาย หรืออย่างน้อยต้องจัดหน้าเสร็จ ถึงจะได้เงิน แต่ Ghostwriter ได้ตังค์เลยนะ เขียนเสร็จรับเงินโลด ไม่ต้องรับความเสี่ยงที่เป็นตัวเงินหากหนังสือขายไม่ออกด้วย (แต่หากงานเขียนไม่เข้าตาต้องใจตลาด เล่มต่อๆไปอาจฝืดหน่อยที่จะมีคนมาจ้างเขียน)

2. ไม่ต้องทำ marketing  ตอนนี้เราคงต้องยอมรับว่านักเขียนเองก็ต้องทำการตลาดเพื่อโปรโมทหนังสือเองด้วย เพราะผู้อ่านมีแนวโน้มที่จะซื้อหนังสือที่เค้ารู้จักคนเขียนหรือเคยเห็นมากกว่าหนังสือที่ไม่รู้จัก (ทั้งๆ ที่หนังสือที่ไม่เป็นที่รู้จักไม่ใช่ว่าไม่ดี บางทีดีกว่าหนังสือที่ดังๆ ซะอีก) และงานการตลาด งานโปรโมทต่างๆ เป็นอะไรที่เหนื่อยและหยุดไม่ได้ บางทีต้องใช้ทั้งเงินและเวลามากๆ ในการทำ แต่ Ghostwriter หาได้แคร์ไม่ เมื่อเป็นมือปืนรับจ้างก็ไม่จำต้องทำ marketing เมื่อไม่ต้องทำก็ไม่ต้องเสียเวลา สามารถมุ่งมั่นทำงานอย่างเดียว งานก็จะเสร็จได้เร็วขึ้นด้วย รับงานใหม่ได้เร็วขึ้นด้วยล่ะ (อันนี้ไม่นับ Ghostwriter รุ่นใหม่ๆที่ใช้สื่อออนไลน์ในการทำให้ตัวเองให้เป็นที่รู้จักนะคะ เพราะถือว่าเป็น marketing สร้างตัวตนอย่างนึง)

3. ไม่มีอารมณ์ร่วม  แล้วดีตรงไหนเนี่ย... ตรงเนี้ยไม่ได้หมายถึงไม่อินกับเรื่องราวของคนต้นเรื่องนะ แต่หมายถึงว่า พอเราไม่ใช่หนังสือของเรา อารมณ์ความรู้สึกเราก็เป็นกลางมากขึ้น ใครติก็น้อมรับเอามาปรับปรุง ใจเราก็เป็นกลาง ไม่วอกแวกวุ่นวาย แต่ถ้าเมื่อไหร่เป็นหนังสือเราเองล่ะก็ อีโก้มาตรึมๆๆ  บางทีโดนติหน่อย ช้ำใจ รมณ์บ่จอย หรือไม่บางทีก็แก้ซะจนไม่เป็นตัวของตัวเอง signature หายไปโหม้ดด เป็นต้นค่า

4. งานน่าสนใจในตัวเอง เวลา  Ghostwriter ได้โปรเจคเขียนเรื่องใคร  ยิ่งถ้าคนนั้นเป็นคนน่าสนใจ เป็นคนมีชื่อเสียง โอกาสจะเข้าถึงเค้าก็ยาก เรียนรู้จากเค้าก็ยาก เพราะเค้าคงไม่ว่างมาคุยกะคนธรรมดาเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็น  Ghostwriter ต้องเขียนเรื่องเค้า คุณได้สิทธิ์นั้นเดี๋ยวนี้!
แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ตามนะคะ อาชีพ  Ghostwriter ก็ยังคงเป็นอาชีพนักเขียนแขนงนึงอยู่ดี ไม่ว่าจะออกสื่อหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่พ้นที่จะต้องฝึกฝนๆๆๆๆ ปรับปรุงแก้ไข พัฒนาทักษะตัวเองขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

หลินเอาใจช่วยให้นักเขียนทุกคน ไม่ว่าจะเลือกเส้นทางนักเขียนหรือเส้นทาง  Ghostwriter ประสบความสำเร็จในอาชีพของตัวเองกันทุกคนนะคะ^^

หลิน^^





No comments:

Post a Comment